วันที่ 11 ธ.ค.2566 ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น นายอุดร ตันติสุนทร ประธานมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น รศ.นพ.บวรฤทธิ์ จักไพวงศ์ คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกันทำพิธีความร่วมมือ พลังพหุภาคี For Better Pattaya โดยมี เรือตรีปราโมทย์ ทับทิม ปลัดเมืองพัทยา นายศิวัช บุญเกิด รองปลัดเมืองพัทยา พร้อมด้วยคณะครูสังกัดโรงเรียนเมืองพัทยาเข้าร่วมในพิธีลงนาม
เมืองพัทยาเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีประชากรจริงรวมกับประชากรแฝงกว่า 5 แสนคน มีนักท่องเที่ยวเฉลี่ย 21 ล้านคนต่อปี เมืองพัทยาเป็นเมืองที่หลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นเมืองแห่งโอกาสสำหรับ ทุกคน ในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2565 เป็นต้นไป เมืองพัทยาได้ขับเคลื่อนการพัฒนาผ่าน 4 เป้าหมาย 15 นโยบาย ภายใต้แนวทาง Better Pattaya ต่อยอด ต่อเนื่อง เพื่อเมืองพัทยาที่ดีขึ้น โดยเป้าหมายที่ 1 ฟื้นฟูเศรษฐกิจ แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนทั้งด้านเศรษฐกิจ การจ้างงาน และการสร้างรายได้ เป้าหมายที่ 2 การยกระดับคุณภาพชีวิต และการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เป้าหมาย ที่ 3 การสานต่อแนวคิดนีโอพัทยา ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาซิตี้คอมเพล็กเกาะล้าน การปรับภูมิทัศน์ชายหาด นา เกลือ Old Town เป้าหมายที่ 4 การเตรียมความพร้อมเรื่องบุคลากร การพัฒนาระบบการศึกษาของเมืองให้เป็น โรงเรียนทางเลือกเพื่อมุ่งสู่อาชีพในฝัน การพัฒนา Infrastructure ด้านดิจิทัล การพัฒนาดิจิทัล Mindset เพื่อ นำเมืองก้าวข้ามกับดักโลกยุค อนาล็อคสู่โลกที่มีเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล
ด้วยโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีความไม่แน่นอน มีความสลับซับซ้อน และมีความพร่ามัว นำไปสู่ความเปราะบางทุกระบบของทุกปริมณฑลของชีวิต การเกิดขึ้นและการแตกดับของวงจรธุรกิจอย่างเฉียบพลัน ข้อมูลที่ไหลบ่าเข้าสู่ครอบครัวและสังคมนำไปสู่ความวิตกกังวลทางสังคมอย่างมีนัยยสำคัญ เกิดความ ไม่คงเส้นคงวาของเหตุการณ์ต่าง ๆ ยากแก่การคาดเดา การเกิดเหตุการณ์ที่ไม่เป็นไปตามตรรกะ และลักษณะเป็น เหตุการณ์ที่เข้าใจยากทุกอย่างไม่ได้เชื่อมโยงกันโดยเหตุผล ดังนั้นเมืองพัทยาจึงมีความจำเป็นในสร้างคน 4 ด้าน คือ 1 Capacity and Resilience โดยการพัฒนา Mindset คนให้ปฏิบัติงานอย่างหยืดหยุ่น ตัดสินใจรวดเร็ว สามารถกระจายความเสี่ยง มีการเตรียมแผนสำรองไว้รองรับ 2 Emphaty and Mindfulness การมีสติ เข้าใจ ตนเอง เข้าใจคนรอบข้าง และพัฒนา Soft Skills เพื่อลดความวิตกกังวล 3 Context and Adaptability ติดตาม การเปลี่ยนแปลง มองทั้งระบบเป็นรู้จักปรับตัว ใช้เทคโนโลยีเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และ 4 Transparency and Intuition เมืองพัทยาต้องการสร้างคนที่ใช้ Data + Tech และฝึกการใช้สัญชาตญาณเพื่อ ประกอบการตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง สร้างพันธมิตรและเครือข่ายในการจัดทำบริการสาธารณะเก่งและยืดหยุ่น และมีความโปร่งใสในข้อมูล
นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา กล่าวว่า ความร่วมมือเป็นพหุภาคีเครือข่าย ร่วมทำ MOU มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 เรื่องหลัก ได้แก่ 1 เรื่องสุขภาพที่จะนำความรู้มาพัฒนาคุณภาพชีวิต 2 เรื่องการศึกษา ซึ่งเมืองพัทยามีโรงเรียนต้นแบบคือโรงเรียนเมืองพัทยา 11 หลังจากทำ MOU ทางเมืองพัทยาก็จะมีการพัฒนาหลักสูตรสามารถต่อยอดเข้าสู่ในระดับมหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งจะทำให้นักเรียนมีโอกาสในการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยต่อไป
รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิบดีมหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า มหาวิทยาลัยบูรพาทำความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นกับเมืองพัทยา โดยมีวัตถุประสงค์ ทำความร่วมมือพัฒนาด้านสุขภาพอนามัย และการศึกษาแนวใหม่ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยบูรพา ได้มีการทำงานร่วมกับเมืองพัทยา อีกทั้งยังทำงานกับทาง EEC ซึ่งทาง EEC ก็ได้สนับสนุนให้เรื่อง สุขภาพ การแพทย์ และการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้การพัฒนาด้านสุขภาพอนามัย และการศึกษาแนวใหม่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นกับเมืองพัทยา ในเรื่องของระบบสุขภาพทางมหาลัยขอนแก่นมีผลิตภัณฑ์ การบริการ มีองค์ความรู้ที่จะมาสนับสนุนและร่วมมือกับทางเมืองพัทยา ซึ่งผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ราคาไม่แพงจะช่วยดูแลประชาชนชาวเมืองพัทยาให้มีชีวิตที่ดี ซึ่งจะควบคู่กับการแพทย์แผนปัจจุบัน นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีทางด้านสุขภาพหรือการแพทย์ทางไกล ก็จะช่วยให้ดูแลประชาชนชาวเมืองพัทยาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น