เกี่ยวกับบูรพา
ประวัติมหาวิทยาลัยบูรพา
พ.ศ. 2498 - 2517
พ.ศ. 2417 - 2533
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บางแสน
วิทยาลัยวิชาการศึกษา ได้รับการเปลี่ยนฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและโอนสังกัดจากกระทรวงศึกษาธิการมาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 ซึ่งมีวิทยาเขตทั้งหมด 8 แห่ง ดังนั้นวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน จึงมีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน
เมื่อเป็นมหาวิทยาลัย มีคณะวิชาเพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่มีการผลิตบัณฑิตเฉพาะหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) เท่านั้น การผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน มีทั้งหมด 6 คณะวิชา และหน่วยงานเทียบเท่าคณะ 1 หน่วยงาน คือ บัณฑิตวิทยาลัย ซึ่งทำหน้าที่ประสานงานการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท โดยเปิดสอนใน 4 สาขาวิชา ได้แก่ การประถมศึกษา การบริหารการศึกษา ชีววิทยา และจิตวิทยาและการแนะแนว
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน แม้จะมีฐานะเป็นมหาวิทยาลัย แต่ก็เป็นเพียงวิทยาเขตหนึ่งเท่านั้น การบริหารงานในรูปแบบวิทยาเขตไม่มีความคล่องตัว และได้รับงบประมาณจำกัดจึงมีความเคลื่อนไหวของวิทยาเขตต่าง ๆ ที่จะแยกตัวเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ จนในปี พ.ศ. 2531 คณะรัฐมนตรีมีอนุมัติให้ยกฐานะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน เป็นมหาวิทยาลัยใหม่โดยมีการออกพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยต่อไป และเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 จึงได้มีประกาศยกฐานะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน เป็นมหาวิทยาลัยบูรพา โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 107 ตอนที่ 131
วิทยาลัยการศึกษา บางแสน
ความเป็นมาก่อนจะมาเป็นมหาวิทยาลัยบูรพา เริ่มในปี พ.ศ. 2492 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้ง “โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง” ขึ้นที่ซอยประสานมิตร อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร จนถึงปี พ.ศ. 2497 จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร” ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 ได้ขยายวิทยาเขตออกไปอีก 2 แห่ง ได้แก่ “วิทยาลัยวิชาการศึกษา ปทุมวัน” และ “วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน”
การจัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาที่บางแสน จังหวัดชลบุรีนี้ ก็เพื่อให้ประชาชนทั้งหลายได้ทราบว่า รัฐบาลได้ขยายการอุดมศึกษาออกไปสู่ส่วนภูมิภาคแล้ว วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน จึงเป็นสถาบันที่ให้ปริญญาแห่งแรกในส่วนภูมิภาค
ดินแดนที่วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสนตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ เดิมทีเรียกว่า สวนหลวง เป็นที่ดินของกรมหมื่นพิชิตปรีชากร ใน พ.ศ. 2498 รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้แทน ได้ซื้อที่ดินสวนหลวงด้วยเงิน 252,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาขึ้นในส่วนภูมิภาค ขณะนั้นเป็นสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายก
รัฐมนตรีมีพลเอกหลวงพรหมโยธี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้มีการวางศิลาฤกษ์วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 วิทยาลัยจึงได้ถือเอา วันที่ 8 กรกฎาคมเป็นวันสถาปนาวิทยาลัยและมีการเฉลิมฉลองวันสำคัญนี้ทุกปี
ขณะนั้น ดินแดนสวนหลวงเป็นที่ขาดการทะนุบำรุง จึงมีต้นไม้ขึ้นรกรุงรัง ส่วนใหญ่ก็มีต้นมะพร้าว เมื่อเป็นเช่นนี้จำเป็นจะต้องหาผู้ที่เข้มแข็ง บุกเบิกวิทยาลัยแห่งนี้ พลเอกหลวงพรหมโยธี และหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล จึงแต่งตั้งให้ ดร.ธำรง บัวศรี มาเป็นรองอธิการคนแรก และมีอาจารย์มาช่วยอีก 6 คน รวม 7 คน เป็นผู้พัฒนาดินแดนแห่งนี้เป็นรุ่นแรก
วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน มีนิสิตรุ่นแรกที่ผ่านการสอบคัดเลือกเป็นชายทั้งสิ้น 41 คน ขณะนั้นมีอาจารย์ 7 ท่าน โดย ดร.ธำรง บัวศรี เป็นรองอธิการ และในปี พ.ศ. 2501 มีผู้สำเร็จการศึกษาเป็นรุ่นแรกจำนวน 35 คน
พ.ศ. 2417 - 2533
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บางแสน
วิทยาลัยวิชาการศึกษา ได้รับการเปลี่ยนฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและโอนสังกัดจากกระทรวงศึกษาธิการมาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 ซึ่งมีวิทยาเขตทั้งหมด 8 แห่ง ดังนั้นวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน จึงมีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน
เมื่อเป็นมหาวิทยาลัย มีคณะวิชาเพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่มีการผลิตบัณฑิตเฉพาะหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) เท่านั้น การผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน มีทั้งหมด 6 คณะวิชา และหน่วยงานเทียบเท่าคณะ 1 หน่วยงาน คือ บัณฑิตวิทยาลัย ซึ่งทำหน้าที่ประสานงานการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท โดยเปิดสอนใน 4 สาขาวิชา ได้แก่ การประถมศึกษา การบริหารการศึกษา ชีววิทยา และจิตวิทยาและการแนะแนว
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน แม้จะมีฐานะเป็นมหาวิทยาลัย แต่ก็เป็นเพียงวิทยาเขตหนึ่งเท่านั้น การบริหารงานในรูปแบบวิทยาเขตไม่มีความคล่องตัว และได้รับงบประมาณจำกัดจึงมีความเคลื่อนไหวของวิทยาเขตต่าง ๆ ที่จะแยกตัวเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ จนในปี พ.ศ. 2531 คณะรัฐมนตรีมีอนุมัติให้ยกฐานะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน เป็นมหาวิทยาลัยใหม่โดยมีการออกพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยต่อไป และเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 จึงได้มีประกาศยกฐานะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน เป็นมหาวิทยาลัยบูรพา โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 107 ตอนที่ 131
พ.ศ.2533
มหาวิทยาลัยบูรพา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 การเปลี่ยนฐานะเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ มีนายกสภามหาวิทยาลัย และอธิการบดีเป็นผู้บริหารสูงสุด มีตำแหน่งคณบดีและผู้อำนวยการในหน่วยงานคณะ สำนักและสถาบัน ทำให้การบริหารงานมีความคล่องตัวมากขึ้น หน่วยงานที่มีประกาศในพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2534 ประกอบด้วย
- สำนักงานอธิการบดี
- คณะพยาบาลศาสตร์
- คณะมนุษยสศาตร์และสังคมศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์
- คณะศึกษาศาสตร์
- บัณฑิตวิทยาลัย
- สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
- สำนักหอสมุด
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยบูรพาจัดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในหลากหลายกลุ่มสาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีคณะ 27 คณะ และมีสถาบัน สำนัก ศูนย์ และโรงเรียนในสังกัด รวมจำนวน 44 ส่วนงาน มีนิสิตมากกว่า 48,000 คน
มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ มีภารกิจหลักในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะเป็นผู้นำ เน้นด้านอุตสาหกรรมและบริการ มีความสามารถในการแข่งขัน ภายใต้คุณธรรมและจริยธรรม ส่งเสริมการวิจัยเชิงบูรณาการ เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและมุ่งสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ทั้งยังให้บริการทางวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่สังคม เพื่อให้เกิดสังคมอุดมปัญญาที่สามารถพึ่งพาตนเอง มีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ตลอดจนส่งเสริมให้ส่งเสริมให้สังคมภาคตะวันออกตระหนักถึงคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติให้ดำรงอยู่ต่อไป
มหาวิทยาลัยบูรพามุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตเพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่